หากพูดถึงเรื่องสุขภาพการเงินที่ดี…วันนี้เรามั่นใจหรือไม่ว่า เรามีสุขภาพการเงินที่ดี…ไม่ว่าในวันนี้หรือในอนาคต..เราได้เตรียมพร้อม เรียบร้อยแล้ว..แต่หากวันนี้ยังไม่มั่นใจ..เรามี 12 วิธี ที่จะทำให้ท่านมีสุขภาพการเงินที่ดี มาแนะนำค่ะ
- รู้จักจัดสรร รายได้
รายได้เมื่อรับมาแล้ว จัดสรรใช้จ่าย เหลือเก็บออมและลงทุน 10% – 30% - จดบันทึกรายรับ รายจ่าย
การบันทึกจะทำให้เรารู้ว่า เราใช้จ่ายอะไรไปบ้าง และรายการใดที่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ เพื่อจะได้มีเงินเหลือแล้วนำไปออมเพิ่มได้
- มีบัญชีสำรองฉุกเฉิน
บัญชีนี้ถือว่า สำคัญเผื่อไว้ยามฉุกเฉินควรเตรียม 3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน - เก็บออมสม่ำเสมอ
วินัยในการออมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อมีรายได้เข้ามา ควรเก็บออมก่อน ที่เหลือค่อยนำไปใช้จ่าย ออมเป็นประจำสม่ำเสมอทุกเดือน
- มีเป้าหมายทางการเงิน
การตั้งเป้าหมายทางการเงิน จะทำให้เรารู้ว่าต้องเก็บเงินเท่าไหร่ ถึงจะสามารถมีเงินได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนทุนการศึกษา วางแผนเกษียณ - ไม่สร้างหนี้ ที่ไม่จำเป็น
หนี้สิน มีเท่าที่จำเป็น เหมาะสม พิจารณาถึงความสามารถในการชำระและการปลดหนี้ทุกอย่างก่อนเกษียณ
- หมั่นดูแลสุขภาพร่างกาย
การดูแลสุขภาพร่างกาย หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ใส่ใจเรื่องอาหารการกินที่มีประโยชน์ เพื่อสุขภาพที่ดี เพราะหากมีปัญหาด้านสุขภาพ ก็จะมีผลกระทบต่อการทำงาน ค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาล การดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง - ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการเงิน
การที่เรามีความรู้ทางการเงิน จะช่วยให้เรามีระบบการจัดการเงินที่ดี มีการวางแผนการเงินที่ดี รวมถึงการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ การเงิน ธุรกิจ เศรษฐกิจ เพื่อให้เรารู้ทันสถานการณ์ทางการเงิน ซึ่งอาจมีผลกระทบกับเรา และเราก็จะสามารถเตรียมการณ์ได้ทันท่วงที
- รู้จักการป้องกันความเสี่ยง
อย่าใช้ชีวิตบนความประมาท เรื่องการป้องกันความเสี่ยง ก็ควรคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็น ด้านประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันภัย เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ก็จะสามารถลดความเสียหายลงได้ - รู้จักการลงทุน เพิ่มความมั่งคั่ง
ในยุคปัจจุบัน หากไม่รู้จักการลงทุน เพื่อนำเงินที่มีไปต่อยอดแล้ว ถือว่าเสียโอกาสด้านผลตอบแทนมากเลยทีเดียว เพราะการฝากเงินธนาคาร ไม่ได้ให้ผลตอบแทนมากเท่าในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งผลตอบแทนเงินฝาก ณ ปัจจุบัน ยังไม่สามารถชนะอัตราเงินเฟ้อได้เลย - มีช่องทางรายได้มากกว่า 1 ทาง
เมื่อรายจ่ายยังมีหลายทาง การมีรายได้ทางเดียว ถือว่ามีความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียว เพราะหากรายได้หลักนั้นเกิดมีปัญหาต้องสะดุดหยุดลง โดยที่ไม่มีรายได้อีกทางรองรับ การหาช่องทางรายได้เพิ่มก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน - รู้จักวางแผนภาษี
การวางแผนภาษี เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนให้ถูกต้อง และครบถ้วน เพื่อประหยัดเงินที่จ่ายภาษี สามารถนำเงินที่ประหยัดภาษีมาเป็นเงินออมเพิ่มได้