“สุนัข” เริ่มเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์เมื่อไหร่? ทำไมถึงเลี้ยง?
ถ้าถามว่าสัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดสนิทสนมกับมนุษย์มากที่สุดคืออะไร คงหนีไม่พ้น “หมา” เจ้าของหลายท่านก็เรียกอย่างรักใคร่เอ็นดูว่า น้องหมา, น้อง…(ชื่อหมา), เค้า ฯลฯ ขณะที่ใช้คำว่า “มัน” ซึ่งคำสรรพนามที่ใช้กับสัตว์ตามหลักภาษาไทย มีการใช้น้อยถึงน้อยมาก ที่ร้ายกว่านั้นคือ เรากลับใช้ “มัน” เรียกเพื่อนฝูงที่สนิท หรือไม่ก็คนที่ชังน้ำหน้าไปเลยแทน
“หมา” เป็นสัตว์เลี้ยงตั้งแต่เมื่อไหร่ แล้วในไทยเริ่มเมื่อไหร่ รวมทั้งเรื่องราวอื่นอันเกี่ยวกับ “หมา”
พนา กันธา ค้นคว้าและเขียนไว้ในบทความของชื่อ “‘หมา’ : ประวัติศาสตร์ว่าด้วยสัตว์เลี้ยงที่ไม่ใช่แค่การเลี้ยงสัตว์” (วารสารประวัติศาสตร์ 2560, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ที่เมื่ออ่านแล้วทำให้เรารู้จัก “หมา” ในมุมที่เปลี่ยนไป
ผู้เขียน (พนา กันธา) เริ่มเล่าตั้งแต่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ว่า มีลักษณะคู่ขนาน เพราะต่างก็เป็นสิ่งแปลกหน้าต่อกัน แต่ก็มีการพึ่งพิงกัน เช่น มนุษย์กินสัตว์เป็นอาหาร ขณะที่สัตว์ร้ายบางชนิดก็กินเนื้อมนุษย์ได้เช่นกัน นั่นคือสภาพความเป็นอยู่ก่อนที่มนุษย์จะก้าวเข้าสู่โลกสมัยใหม่
แต่เมื่อเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 สภาพแวดล้อมถูกเปลี่ยนเป็นเมืองมากขึ้น เมืองที่เป็นที่อยู่ของมนุษย์ ขณะที่สัตว์ถูกแยกออกไปอยู่ในป่า แต่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ขยายตัวขึ้นมาตั้งแต่งานเขียนเรื่อง The Origin of Species ของ Charles Darwin ทำให้ชาวตะวันตกพยายามนำสัตว์กลับเข้ามาในเมืองเกิดเป็นวัฒนธรรมสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมข้างต้นยังทำให้มนุษย์โหยหาธรรมชาติ, โหยหาอดีต แล้วแสดงออกโดยการจำลองสภาวะธรรมชาติ เช่น การจัดสวน, การสร้างสวนสัตว์ รวมถึงการเลี้ยงหมา
แต่ความโหยหานั้น ก็ถูกจำกัดด้วยการขยายตัวของสังคมเมือง ครอบครัวส่วนใหญ่มีที่อยู่อาศัยขนาดเล็กลง และถูกตัดขาดจากธรรมชาติ เมื่อมีสมาชิกใหม่เพิ่มเข้ามา ก็ต้องเกิดการแบ่งปันพื้นที่ซึ่งมีอยู่น้อยให้น้อยลงไปอีก ทางออกก็คือ ต้องขังสัตว์ไว้ในบ้าน หรือในกรง, ต้องฝึกให้มันเชื่อฟัง, ต้องทำหมันเพื่อคุมจำนวนการแพร่พันธุ์, ต้องกินอาหารสำเร็จรูป ฯลฯ ทั้งหมดนั้นทำให้มันเป็นสัตว์เลี้ยงที่ต้องพึ่งพิงเจ้าของโดยสมบูรณ์
การเลี้ยงหมาในฐานะของสัตว์เลี้ยงเริ่มต้นโดยชนชั้นสูงอังกฤษในศตวรรษที่ 19
หมาในเวลานั้นเป็นสิ่งแสดงถึงสถานะของผู้เลี้ยง ในทศวรรษ 1890 มีการจัดประกวดหมาครั้งใหญ่จัดขึ้นที่ Crystal Palace กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ที่เลี้ยงอีกด้วย โดยหมาพันธุ์แท้ย่อมบ่งบอกถึงสถานะได้ดีกว่าหมาพันธุ์ผสม การเลี้ยงหมาพันธุ์แท้ก็สะท้อนถึงสถานะของผู้เลี้ยงหรือเจ้าของด้วย
ต้นศตวรรษที่ 20 การเลี้ยงหมาพันธุ์แท้ของชนชั้นสูงในอังกฤษก็ขยายไปสู่ชนชั้นอื่น เช่น นายทุน, คนชนชั้นกลาง การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงกลายเป็นวัฒนธรรมที่แพร่หลายในสังคม ผ่านสมาคมพัฒนาสายพันธุ์ระดับชาติ ในการกำหนดสายพันธุ์ และมีการร่วมตัวกันเป็นเครือข่ายระดับโลก ทำให้ความรู้ในการเลี้ยงหมาพันธุ์เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความน่าเชื่อถือขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ยังทำให้จำนวนผู้เลี้ยงหมาในยุโรปและอเมริกามีเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
แต่จะสรุปว่าหมาพันธุ์ใดเป็นที่นิยมที่สุดคงตอบไม่ได้ชัดเจนนัก
ความนิยมมักขึ้นกับความคิดของผู้คนในสังคมที่ต่างกันไปตามสถานการณ์ และเวลาที่แตกต่างกันไป เช่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 2 คนอเมริกันนิยมหมาพันธุ์ German Shepherd เพราะภาพลักษณ์ของมันที่สื่อออกไปคือวีรบุรุษในสงคราม, ปลายศตวรรษที่ 20 คนอังกฤษที่เลี้ยง Pitbull มักถูกมองว่าเป็นพวกต่อต้านสังคม
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 หมาในฐานะสัตว์เลี้ยงถูกเผยแพร่ในสื่อต่างๆ ทำให้เกิดธุรกิจและสินค้าเกี่ยวกับหมา เช่น ชามอาหาร, สายจูง, วัคซีน, สถานพยาบาลสำหรับสัตว์ ฯลฯ และแพร่หลายมากขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ในสังคมไทยช่วงทศวรรษ 2490 ถึงทศวรรษ 2500 สื่อต่างๆ เช่น ภาพยนตร์, นวนิยาย, นิตยสาร, โฆษณา ฯลฯ โดยมีการสมาคมสัตว์เลี้ยงขึ้นใน พ.ศ. 2490 จากนั้นก็มีการตีพิมพ์นิตยสารเกี่ยวกับสัตว์ชื่อ “สัตว์เลี้ยง” ใน พ.ศ. 2498 ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับหมา และมีการประกวดหมาที่สวนสัตว์ดุสิต ใน พ.ศ. 2502 มีหมาเข้าร่วมการประกวด 132 ตัว
หมา หรือคำสุภาพว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์: Canis lupus familiaris หรือ Canis familiaris) เป็นสัตว์มีเขี้ยวชนิดเชื่องทีถูกคัดเลือกผสมพันธุ์มาเป็นเวลาพันปีจนมีพฤติกรรม การรับรู้ทางประสาทสัมผัส และลักษณะทางกายภาพที่หลากหลาย
แม้ว่าเดิมทีจะคิดกันว่าหมามีต้นกำเนิดจากสายพันธุ์สัตว์มีเขี้ยวที่หลากหลาย (บ้างมองว่าเป็นหมาใน หมาจิ้งจอกทอง และหมาป่า ) มีการศึกษาทางพันธุศาสตร์เพิ่มเติมในคริสต์ทศวรรษ 2010 ชี้ว่าหมาเริ่มแตกต่างจากสัตว์มีเขี้ยวคล้ายหมาป่าในยูเรเชียเมื่อ 40,000 ปีที่แล้ว เนื่องจากเป็นสัตว์เชื่องที่เก่าแก่ที่สุด การอยู่ร่วมกับมนุษย์มาเป็นเวลานานทำให้หมามีพฤติกรรมที่ปรับเข้ากับมนุษย์ได้ดี รวมถึงสามารถเติบโตได้โดยกินอาหารประเภทแป้งซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อสัตว์มีเขี้ยวชนิดอื่น
บรรพบุรุษและที่มาของความเชื่อง
วิวัฒนาการด้านโมเลกุลของหมาชี้ให้เห็นว่าหมาเลี้ยงนั้น (Canis lupus familiaris) สืบทอดมาจากจำนวนประชากรหมาป่า (Canis lupus) เพียงตัวเดียวหรือหลายตัว สะท้อนให้เห็นถึงการตั้งชื่อพวกมัน หมาสืบทอดจากหมาป่าและหมาธรรมดาสามารถผสมข้ามพันธุ์กับหมาป่าได้ด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับหมานั้นถูกฝังลึกในด้านโบราณคดีและหลักฐานที่ตรงกันชี้ให้เห็นช่วงเวลาของการทำให้หมาเชื่องในยุคหินใหม่ ใกล้ ๆ กับขอบเขตของช่วงเพลสโตซีนและโฮโลซีน ในระหว่าง 17,000 – 14,000 ปีมาแล้ว ซากกระดูกฟอสซิลและการวิเคราะห์ยีนของหมาในยุคอดีตกับปัจจุบัน และประชากรหมาป่ายังไม่ถูกค้นพบ หมาทั้งหมดสืบอายุอาจเกิดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เชื่องด้วยตัวเองหรือไม่ก็ได้ถูกทำให้เชื่องด้วยตัวมันเองในพื้นที่มากกว่าหนึ่งพื้นที่ หมาที่ถูกเลี้ยงให้เชื่องแล้วอาจจะผสมข้ามพันธุ์กับประชากรหมาป่าที่อยู่ในถิ่นนั้น ๆ ในหลาย ๆ โอกาส กระบวนการนี้รู้จักในทางทางพันธุศาสตร์ว่า อินโทรเกรสชัน (Introgression)
ในยุคแรก ๆ ฟอสซิลหมา กะโหลก 2 จากรัสเซียและขากรรไกรล่างจากเยอรมนี พบเมื่อ 13,000 ถึง 17,000 ปีมาแล้ว บรรพบุรุษของมันเป็นหมาป่าโฮลาร์กติก (Canis lupus lupus) ซากศพของหมาตัวเล็กจากถ้ำของสมัยวัฒนธรรมนาทูเฟียนของยุคหินได้ถูกเก็บไว้ในแถบตะวันออกกลาง มีอายุราว 12,000 ปีมาแล้ว เข้าใจว่าเป็นทายาทมาจากหมาป่าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาพศิลปะบนหินและซากกระดูกชี้ให้เห็นว่า เป็นเวลากว่า 14,000 ปีมาแล้วที่หมาในที่นี้กำเนิดจากแอฟริกาเหนือข้ามยูเรเชียไปถึงอเมริกาเหนือ หลุมฝังศพหมาที่สุสานยุคหินของเมืองสแวร์ดบอร์กในประเทศเดนมาร์กทำให้นึกไปถึงในยุคยุโรปโบราณว่าหมามีค่าเป็นถึงเพื่อนร่วมทางของมนุษย์
การวิเคราะห์ทางยีนได้ให้ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่เหมือนกันมาจนถึงทุกวันนี้ วิล่า ซาโวไลเนน และเพื่อนร่วมงาน พ.ศ. 2540 สรุปว่าบรรพบุรุษของหมาได้แยกออกจากหมาป่าชนิดอื่น ๆ มาเป็นเวลาระหว่าง 75,000 ถึง 135,000 ปีมาแล้ว เมื่อผลการวิเคราะห์ที่ตามมาโดยซาโวไลเนน พ.ศ. 2545 ชี้ให้เห็น เผ่าพันธุ์ดั้งเดิมจากกลุ่มยีนสำหรับประชากรหมาทั้งหมด ระหว่าง 40,000 ถึง 15,000 ปีมาแล้ว ในเอเชียตะวันออก เวอร์จีเนลลี่ พ.ศ. 2548 แนะนำว่าอย่างไรก็ดี ช่วงเวลาของทั้งคู่จะต้องถูกประเมินผลอีกครั้งในการค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่า นาฬิกาโมเลกุลแบบเก่าที่ใช้วัดเวลานั้นได้กะเวลายุคสมัยของเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาเกินความจริง โดยในความจริง และในการเห็นพ้องกันว่าด้วยเรื่องหลักฐานทางโบราณคดี เป็นเวลาเพียง 15,000 ปีเท่านั้นที่ควรจะเป็นช่วงชีวิตสำหรับความหลากหลายของของหมาป่า
สหภาพโซเวียตเคยพยายามนำหมาจิ้งจอกมาเลี้ยงให้เชื่อง เช่นในหมาจิ้งจอกเงิน และสามารถนำมันมาเลี้ยงได้เพียงแค่ 9 ชั่วอายุของมันหรือน้อยกว่าอายุขัยของมนุษย์ นี่ยังเป็นผลในการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น เช่น สี ที่จะกลายเป็นสีดำ สีขาว หรือสีดำปนขาว พวกมันได้พัฒนาความสามารถในการขยายพันธุ์ตลอดปี หางที่โค้งงอมากขึ้น และหูที่ดูเหี่ยวย่นเหมือน อวัยวะเพศชาย
กายวิภาคศาสตร์
หมาถูกคัดเลือกผสมพันธุ์มาเป็นเวลาพันปีเพื่อให้มีพฤติกรรมหลากหลาย การรับรู้ความรู้สึก และลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน หมาสายพันธุ์ต่าง ๆ ในสมัยใหม่มีขนาด รูปร่าง และพฤติกรรมหลากหลายกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น หมาเป็นทั้งนักล่าและสัตว์กินซาก และมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง กระดูกข้อเท้าเชื่อมกัน และระบบหมุนเวียนเลือดที่ช่วยในการวิ่งและความอดทน และมีฟันที่ใช้จับและฉีกให้ขาด เช่นเดียวกับสัตว์นักล่าที่เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น
ขนาดและส่วนสูง
หมามีขนาดและน้ำหนักแตกต่างกัน หมาตัวเล็กที่สุดที่รู้จักกันคือหมาพันธุ์ยอร์กเชอร์เทร์เรียร์ เมื่อยืนอยู่จะสูง 6.3 เซนติเมตร ยาว 9.5 เซนติเมตร ตลอดทั้งหัวและลำตัว และหนัก 113 กรัม หมาตัวใหญ่ที่สุดที่รู้จักคือหมาพันธุ์อิงลิชมาสติฟ หนัก 177.6 กิโลกรัม และความยาวจากจมูกถึงหาง 250 เซนติเมตร หมาที่สูงที่สุดคือหมาพันธุ์เกรตเดน เมื่อยืนอยู่สูง 195.7 เซนติเมตร
ประสาทสัมผัส
ประสาทสัมผัสของหมา ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การรับรู้รสชาติ การสัมผัสและการตอบสนองไวต่อสนามแม่เหล็กของโลก
หาง
หมามีหางหลายรูปร่าง ได้แก่ ตรง ตรงตั้งขึ้น โค้งคล้ายเคียว ม้วนเป็นวง หรือหมุนเป็นเกลียว หน้าที่หลักของหางหมาคือสื่อสารอารมณ์ของมัน เป็นสิ่งสำคัญกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ในหมานักล่าบางตัวถูกกุดหางเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ หมาบางสายพันธุ์ เช่น Braque du Bourbonnais ลูกหมาอาจเกิดมามีหางสั้นหรือไม่มีหางเลยก็ได้
สุขภาพ
พืชที่ปลูกตามบ้านเรือนหลายชนิดเป็นพิษกับร่างกายของหมา เช่น ต้นคริสต์มาส เบโกเนีย และว่านหางจระเข้
หมาบางสายพันธุ์มีแนวโน้มเจ็บป่วยเป็นโรคบางโรค เช่น ศอกและสะโพกเจริญผิดปกติ ตาบอด หูหนวก หลอดเลือดแดงตีบ ปากแหว่งเพดานโหว่ และกระดูกสะบ้าเคลื่อน
สติปัญญาและพฤติกรรม
หมาแต่ละตัวและแต่ละสายพันธุ์ มีสัญชาตญาณของตนเอง นับตั้งแต่เริ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลง จากหมาป่ามาเป็นหมาเลี้ยง ได้มีการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์หมาสืบทอดกันมามากกว่า 4,000 ชั่วอายุ ทำให้ลักษณะร่างกายของหมาหลายสายพันธุ์ เปลี่ยนแปลงไปจากบรรพบุรุษของพวกมันอย่างมาก แต่หมาแต่ละสายพันธุ์ยังคงรักษาลักษณะพฤติกรรมของหมาป่าที่มันเคยเป็นไว้ได้ไม่มากก็น้อย ทั้งหมาป่าและหมาเลี้ยงมีวิธีสื่อสารโดยการเห่า การใช้ภาษากาย และสัญชาตญาณในการรวมกลุ่ม ทั้งนี้หมามีพฤติกรรมให้การสร้างอาณาเขตของมัน เช่น การฉี่รดตามที่ต่าง ๆ เพื่อบอกว่าตรงนี้เป็นเจ้าของ และการเดินเป็นวงกลมก่อนนอนเพื่อกระจายกลิ่นตัวไปรอบ ๆ และกำหนดอาณาเขตไม่ให้สัตว์ตัวอื่นเข้ามารบกวน