เหตุผลที่ควรเลี้ยงแมว
ประโยชน์ของการเลี้ยงแมว ที่น่าจะเป็นเหตุผลดี ๆ สำหรับทาสแมว ที่จะมีเหมียวน้อยเข้ามาวนเวียนเป็นเพื่อนรู้ใจอยู่ในชีวิต ลองไปอ่านประโยชน์ของการเลี้ยงแมวกันเลย
หากคุณคิดว่าแมวเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงธรรมดาที่แทบไม่ได้สร้างประโยชน์ใด ๆ ให้กับเจ้าของเหมือนสุนัขแล้วละก็ อาจจะต้องกลับไปทบทวนมุมมองกันใหม่อีกครั้งเสียแล้ว เพราะในวันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลจาก Distractify มาทำให้ทุกคนมองเห็นประโยชน์ของการเลี้ยงแมวในมุมมองที่แตกต่างออกไป และประโยชน์ที่ว่านี้ก็มากกว่าคอยเป็นยามเฝ้าบ้าน เพื่อนแก้เหงา และบางเรื่องก็อยู่เหนือสิ่งที่ทุกคนจะคาดคิดถึงด้วย
- แมวเสมือนยาวิเศษช่วยบำบัดความรู้สึก
แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ช่วยให้คนสามารถผ่านพ้นช่วงเวลายาก ๆ ของชีวิตไปได้ อย่างเช่น หลังการสูญเสียคนรัก โดยการพูดคุยปัญหากับแมว เพราะแมวจะไม่ซ้ำเติมความผิดพลาด หรือตัดสินคุณเหมือนการบอกกล่าวกับคน แต่แมวจะรับฟังทุกคำพูดอย่างตั้งใจ ดังนั้นแมวจึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการบำบัด ที่จะทำให้ความเจ็บปวดภายในให้หายไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ - ผู้ที่เลี้ยงแมวฉลาดกว่าผู้ที่เลี้ยงสุนัข
มหาวิทยาลัยคาโรล ในรัฐวิสคอนซิน เผยว่า หลังการทดสอบไหวพริบระหว่างผู้ที่เลี้ยงแมวกับสุนัขพบว่า ผู้ที่เลี้ยงแมวมีไหวพริบมากกว่าผู้ที่เลี้ยงสุนัข ซึ่งนักจิตวิทยาเชื่อว่า ผลลัพธ์ดังกล่าวน่าจะสืบเนื่องมาจาก ผู้ที่เลี้ยงแมวให้ความสนใจเรื่องรอบข้างมากกว่า เหมือนนิสัยของแมวนั่นเอง - แมวช่วยพลิกหน้าประวัติศาสตร์
ย้อนกลับไปเมื่อ 525 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนการสู้รบที่เมืองเพลูเซียม ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของอียิปต์ในสมัยนั้น กษัตริย์แคมไบซิสที่ 2 หรือกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย ได้สั่งให้วาดรูปแมวลงบนโล่ของเหล่าทหาร พร้อมกับให้ทหารแห่แมวนำหน้าทัพ ซึ่งเมื่อชาวอียิปต์ที่ยกย่องแมวเหนือสิ่งอื่นใดได้เห็นดังนั้น ก็ไม่กล้าสู้รบปรบมือด้วย เพราะกลัวจะทำให้เทพพิโรธ สุดท้ายจำต้องยอมถอยทัพ และเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไปในที่สุด - ลดโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวาย
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยมินิโซตาพบว่า การเลี้ยงแมวทำให้ระดับความเครียดน้อยลง เช่นเดียวกับการลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวายที่สูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว - แมวเข้ากันได้ดีกับทุกคน
ส่วนความคิดที่ว่าสุนัขเป็นเพื่อนกับคนได้ดีกว่าแมวก็ไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะกับผู้หญิง เพราะศึกษาในสวิตเซอร์แลนด์พบว่า แมวสามารถเข้ากับคนในครอบครัวเดียวกันได้อย่างยอดเยี่ยม แต่แมวจะทำเช่นนั้นกับคนที่แสดงความเมตตา รักใคร่ และเอ็นดูกับพวกมันก่อน - ทาสแมวเป็นคนเปิดเผย อ่อนไหว และคิดนอกกรอบมากกว่า
การศึกษาจากในซานฟรานซิสโกระบุว่า บุคลิกลักษณะระหว่างผู้ที่เลี้ยงแมวกับสุนัขมีความแตกต่างกันมากทีเดียว ซึ่งความแตกต่างก็เกิดขึ้นจากสัตว์เลี้ยงของพวกเขานั่นเอง โดยพบว่าผู้ที่เลี้ยงแมวเป็นคนที่เปิดเผย อ่อนไหว และมีความคิดนอกกรอบมากกว่าผู้ที่เลี้ยงสุนัข ซึ่งนิสัยของแมวก็มีส่วน - แมวมีระดับคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ น้อยกว่าสุนัข
นอกจากนี้ยังมีรายงานจากแหล่งข่าวอีกว่า การดูแลและให้อาหารสุนัขสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ คาร์บอน ฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) เทียบเท่ากับได้กับรถยนต์ ในขณะที่แมวซึ่งเป็นสัตว์ที่กินน้อย และอาหารที่แมวกินส่วนใหญ่ก็ยังเป็นปลามากกว่าเนื้อสัตว์ ดังนั้นจึงทำให้มีระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า โดยมีขนาดเทียบเท่ากับลูกกอล์ฟเท่านั้นเอง - แมวสามารถผูกมิตรกับเด็ก ๆ ได้ดี
จากการศึกษาพบว่า 81 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่อาศัยอยู่กับแมว มักจะระบายความรู้สึกกับแมวมากกว่าเพื่อนหรือพ่อแม่ ในขณะที่เด็กอีกกว่า 87 เปอร์เซ็นต์เห็นแมวเป็นเพื่อนสนิทที่สุดของตัวเอง - เด็กที่อาศัยอยู่กับแมวขาดโรงเรียนน้อยกว่า
เด็กที่อาศัยร่วมบ้านหลังเดียวกับแมวมีสถิติในการหยุดเรียนน้อยกว่าเด็กทั่วไป โดยมีค่าเฉลี่ยการหยุดเรียนอยู่ที่ประมาณ 9 วันต่อปีเท่านั้น ส่วนสาเหตุก็เป็นเพราะว่า ผู้ที่เลี้ยงแมวมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงกว่านั่นเอง พร้อมกันนี้ยังพบว่าเด็กกลุ่มนี้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหูอักเสบน้อยลงด้วย - แมวช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลของเจ้าของน้อยลง
นักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาเชื่อว่า การเลี้ยงแมวสามารถช่วยให้สารเคมีที่เรียกว่า ไตรกลีเซอไลน์ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลสูง ในร่างกายของผู้เลี้ยงแมวลดลงได้ - แมวสามารถช่วยชีวิตเจ้าของได้
โรเจอร์ มัคฟอร์ด นักจิตวิทยาสัตว์เชื่อว่า แมวสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ดีไม่แพ้สุนัข หลังจากที่ในปี ค.ศ. 2012 แมวพุดดิ้งได้ช่วยชีวิตเอมี่ ผู้ที่รับเลี้ยงมันมาดูแลเอาไว้ได้อย่างดีเยี่ยม โดยในคืนที่เธอชัก เจ้าพุดดิ้งก็ใช้จมูกดันจนกระทั่งเธอรู้สึกตัว ก่อนจะวิ่งไปปลุกลูกชายของเธอ เพื่อให้เขาโทรศัพท์เรียกรถพยาบาล - การเลี้ยงแมวช่วยลดความรู้สึกหดหู่
และเนื่องจากการรักแมวเป็นความรักที่ไม่มีเงื่อนไข และความรักนี้เองที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า แมวสามารถช่วยลดความรู้สึกหดหู่ ความรู้สึกกังวล หรือความรู้สึกกดดันได้ - แมวช่วยเด็กออทิสติกได้
หลังจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งควีนส์แลนด์พบว่า เด็กออทิสติกที่อยู่กับแมวมีแนวโน้มที่จะพูดคุย สบตา และยิ้มมากกว่าเด็กออทิสติกทั่วไป นั่นเป็นเพราะว่าความอ่อนโยนของแมวสามารถเข้ากับเด็ก ๆ เหล่านี้ได้ดีนั่นเอง - การเลี้ยงแมวทำให้มีความสุขมากขึ้น
การเลี้ยงดูแมวยังช่วยกระตุ้นการผลิตสารออกซิโทซิน หรือฮอร์โมนแห่งความรัก ก็เลยเป็นเหตุให้ทุกครั้งที่ผู้ที่เลี้ยงแมวดูแลพวกมัน กลายเป็นการสร้างความสุขให้กับตัวเองไปด้วย - การครางของแมวช่วยรักษาโรคได้
เนื่องจากการครางของแมวจัดอยู่ในช่วงความถี่ 20-140 เฮิรตซ์ ซึ่งเป็นช่วงความถี่ที่สามารถใช้รักษาโรคบางอย่างได้ อย่างเช่น ลดอาการหอบหืด หรือช่วยในการรักษากระดูกและเนื้อเยื่อให้ดีขึ้นได้แม้อยู่ในภาวะความดันเลือดต่ำ เป็นต้น - แมวช่วยลดความตึงเครียด
มหาวิทยาลับมิสซูรีพบว่า การเลี้ยงแมวยังช่วยลดระดับความเครียดในคนด้วย หลังจากที่พวกเขานำผลการศึกษาของคนที่แต่งงานแล้วจำนวน 240 คู่ มาเปรียบเทียบและเห็นตรงกันว่า คู่แต่งงานที่เลี้ยงแมวมีระดับความเครียดน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เลี้ยง - แมวช่วยดึงเสน่ห์ผู้ชายออกมา
จากการสำรวจเกี่ยวกับผู้ชายก็พบว่า ผู้หญิงโสดกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ คิดว่าผู้ชายที่ชอบแมวมีแรงดึงดูดกับพวกเธอมากกว่าผู้ชายที่ไม่ชอบแมว
- แมวช่วยลดโรคหอบหืดและโรคภูมิแพ้ในเด็ก
ส่วนเด็ก ๆ ที่อาศัยอยู่กับแมวตั้งแต่อายุยังน้อยมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดน้อยกว่า เพราะจากการศึกษาพบว่าภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็กกลุ่มนี้มีการพัฒนาที่ดีกว่าก็เลยช่วยป้องกันเด็กจากโรคดังกล่าวได้ - ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน
ในขณะที่ทีมวิจัยยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่า เพราะเหตุใดเจ้าของแมวมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเส้นเลือดในสมองอุดตันน้อยกว่าคนที่ไม่ได้เลี้ยงแมว แต่ถ้าหากลองพิจารณาดูดี ๆ ก็จะพบว่า สาเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนั้นอาจเพราะ แมวมีระดับความเครียดน้อย แถมยังมีความดันเลือดและคอเลสเตอรอลต่ำนั่นเอง - คนเลี้ยงแมวเข้ากับคนรอบข้างได้ดี
เนื่องจากเด็กที่เติบโตมาพร้อมกับแมวจะมีการฝึกฝนการวิเคราะห์ความคิดและความรู้สึกไปในตัว ซึ่งจากประสบการณ์ดังกล่าวนี่เองที่ช่วยให้พวกเขาสามารถเข้ากับคนรอบข้างได้ดี แถมยังสามารถวิเคราะห์การกระทำของพวกเขาที่มีอิทธิพลกับคนอื่นได้ด้วย - กลับสู่อารมณ์ปกติหลังจากผิดหวังได้เร็วขึ้น
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยมิสซูรี หลังจากที่พวกเขาให้นักศึกษาปริญญาตรีบรรยายความรู้สึกหลังโดนปฏิเสธออกมา พร้อมกับให้พวกเขาเขียนเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ซึ่งผลปรากฏว่าสัตว์เลี้ยงมีส่วนช่วยรักษาความรู้สึกหลังโดนปฏิเสธได้ - แมวสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์ได้
หากในบ้านของผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีแมวอาศัยอยู่ด้วยจะทำให้พวกเขามีความวิตกน้อยลง เพราะแมวดูแลตัวเองได้ และขี้อ้อน ช่วยให้ผู้เลี้ยงมีความสุขมากขึ้น อีกทั้งแมวยังเป็นสัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่สุด เนื่องจากแมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ต้องการการดูแลน้อยกว่าสุนัขนั่นเอง - แมวช่วยดูแลเด็ก ๆ แทนได้
แมวยังสามารถทำหน้าที่ในการดูแลเด็ก ๆ ได้ดีอีกด้วย เพราะแมวสามารถทำหน้าที่ที่ใกล้เคียงกับพ่อ-แม่ของเด็ก ๆ โดยเฉพาะผู้เป็นแม่ จากลักษณะการกระทำในระหว่างที่เจ้าของให้อาหารและดูแลพวกมัน - การเลี้ยงแมวช่วยรักษาระดับความดันเลือด
จากการวิจัยของศูนย์ศึกษาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ ของมหาวิทยาลัยมิสซูรีพบว่า การเลี้ยงดูและเล่นกับแมวช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลน้อยลง และจากผลข้างต้นนี่เองที่ทำให้ความดันเลือดอยู่ในระดับที่สมดุล
แมว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Felis catus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felidae ต้นตระกูลมาจากเสือไซบีเรีย (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 40 เซนติเมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อ มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน
แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อน [5] ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่พบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากพีระมิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสซิเนีย
ดยทั่วไปมีการแบ่งพันธุ์แมวออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ แมวขนยาว (longhaired cat) และ แมวขนสั้น (shorthaired cats) การแบ่งพันธุ์ด้วยวิธีนี้ทำให้จำแนกแมวออกได้ตามลักษณะพันธุ์ที่จำเพาะต่าง ๆ กัน การจัดจำแนกแมวในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีการกำหนดมาตรฐานของพันธุ์แมวที่เป็นที่ยอมรับกัน ทั้งนี้ลักษณะมาตรฐานของพันธุ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อย ๆ การใช้ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แสดงถึงลักษณะของพันธุ์ที่จำเพาะมีความแตกต่างกันระหว่างในยุโรปและสหรัฐอเมริกา และมีบางพันธุ์มีการจัดจำแนกเฉพาะต่างหากในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
แมวในโลกนี้มีมากมายหลายพันธุ์ โดยเฉพาะแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยงไม่นับรวมสัตว์ตระกูลแมว พวกเสือ แมวดาว แมวป่า หรือสิงโต แมวเลี้ยงหรือที่เราเรียกว่า Domestic cat นั้นมีวิวัฒนาการมาจากแมวป่าในธรรมชาติจากหลายภูมิภาคของโลก ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แตกต่างกันที่เรียกกันทุกวันนี้ เช่น เปอร์เซีย แมวสยาม แมวบาหลี แมวอะบิสซิเนีย และแมวโซมาลี นั้น แสดงถึงถิ่นกำเนิดที่แสดงถึงภูมิศาสตร์ที่เขาถือกำเนิดมา ในการจัดนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษเมื่อปีคริสศักราช 1871 ถือเป็นการเริ่มต้นในการนำเสนอพันธุ์แมวในระดับนานาชาติ ทำให้ผู้สนใจในแมวมีความตื่นตัว แต่การแสดงในครั้งนั้นส่วนใหญ่เป็นแมวเปอร์เซียและแมวขนสั้นเป็นหลัก
แมวมีความคุ้นเคยและเลี้ยงได้ง่าย สรีรวิทยาของแมวได้รับการศึกษาโดยเฉพาะ โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินเนื้ออื่น ๆ แต่จากลักษณะที่ผิดแปลกออกไปหลายอย่าง อาจจะทำให้เชื่อว่าเชื้อสายแมว มาจากสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย เช่นแมวสามารถทนต่ออุณหภูมิสูงมาก มนุษย์โดยทั่วไปเริ่มที่จะรู้สึกอึดอัดผิวเมื่อมีอุณหภูมิประมาณ 38° ซ. (100° ฟ.) แต่แมวเริ่มแสดงความรู้สึกไม่สบายผิวของพวกมันเมื่ออุณหภูมิถึงราว 52° ซ. (126° ฟ.) และสามารถทนต่ออุณหภูมิสูงถึง 56° ซ. (133° ฟ.) ถ้าแมวยังคงเข้าถึงน้ำได้
แมวเก็บรักษาความร้อนโดยการลดการไหลเวียนของเลือดไปยังผิวและระบายความร้อนโดยการระเหยผ่านปากของพวกมัน แมวมีความสามารถที่จะขับเหงื่อที่ต่อมอยู่ในอุ้งเท้า และจะหอบเพื่อบรรเทาความร้อนที่อุณหภูมิสูงมากเท่านั้น (แต่อาจหอบเมื่อเครียด) อุณหภูมิร่างกายของแมวไม่ได้แตกต่างกันตลอดทั้งวัน อาจสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะมีความกระตือรือร้น ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มูลแมวจะแห้งและปัสสาวะจะมีความเข้มข้นสูงซึ่งทั้งสองอย่างแสดงถึงการปรับตัวที่ช่วยให้แมวเก็บน้ำได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ไตของแมวมีประสิทธิภาพเพื่อให้แมวสามารถอยู่รอดได้หากกินอาหารเฉพาะประเภทเนื้อสัตว์โดยที่ไม่ต้องกินน้ำเพิ่มเติม และยังสามารถได้รับน้ำจากการดื่มน้ำทะเล
แมวเป็นสัตว์กินเนื้อ สรีรวิทยาของพวกมันมีการพัฒนาในการย่อยเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพและในทางตรงกันข้ามแมวมีปัญหาในการย่อยพืช ในขณะที่สัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ เช่นหนูซึ่งต้องการโปรตีนในอาหารประมาณ 4% แต่แมวจะต้องการโปรตีนประมาณ 20% ในอาหาร แมวจะผิดปกติถ้าขาดอาร์จินีนและการกินอาหารที่ขาดอาร์จินีนเป็นสาเหตุของอาการน้ำหนักลดและอาจถึงแก่ชีวิตได้อย่างรวดเร็ว อีกคุณสมบัติที่ผิดปกติคือการที่แมวไม่สามารถผลิตทอรีน การขาดทอรีนก่อให้เกิดการเสื่อมสภาพในจอประสาทตาของแมวทำให้ตาบอดถาวร แมวจะกินเหยื่อของพวกมันทั้งหมดเพราะจะได้รับแร่ธาตุโดยการย่อยกระดูกสัตว์ ดังนั้นอาหารที่มีเนื้อสัตว์อย่างเดียวอาจก่อให้เกิดการขาดแคลเซียม
ระบบทางเดินอาหารของแมวถูกปรับให้เข้ากับการกินเนื้อสัตว์ ดังนั้นระบบทางเดินอาหารของแมวสั้นกว่าของสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ และแมวมีระดับเอนไซม์ที่จำเป็นในการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตอยู่ในระดับต่ำ นี่จึงจำกัดความสามารถของแมวที่จะย่อยสารอาหารจากพืชอย่างมาก เช่นเดียวกับกรดไขมันบางอย่างที่แมวมีความสามารถในการย่อยจำกัด แม้สรีรวิทยาของแมวจะมุ่งเน้นไปทางอาหารที่เป็นเนื้อ แต่ก็มีอาหารแมวมังสวิรัติทำการตลาดมีการเสริมสังเคราะห์สารเคมีทอรีนและสารอาหารอื่น ๆ ในความพยายามที่จะผลิตอาหารที่สมบูรณ์แบบ แต่บางส่วนของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังคงล้มเหลวในการให้สารอาหารที่จำเป็นทั้งหมดต่อแมว และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีไม่มีส่วนประกอบจากสัตว์ก่อให้เกิดการขาดสารอาหารอย่างรุนแรง
แมวจะกินหญ้าเป็นครั้งคราว สันนิษฐานว่าใช้หญ้าเป็นแหล่งของกรดโฟลิก หรือใช้ในการเป็นแหล่งใยอาหาร
จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันสมิธโซเนียนพบว่า แมวเป็นสัตว์ที่เป็นภัยคุกคามต่อสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ อย่างยิ่ง โดยในสหรัฐอเมริกาแมวได้ฆ่านกไปถึงปีละ 2,000–4,000 ล้านตัวต่อปี ทั้งแมวที่มีเจ้าของ หรือแมวจร ส่วนในออสเตรเลียปีละ 70 ล้านตัวต่อปี และอังกฤษ 27 ล้านตัวต่อปี รวมแล้วทั่วโลกประมาณ 7,000–20,000 ล้านตัวต่อปี โดยในรอบ 500 ปีที่ผ่านมา แมวได้ทำให้สัตว์ชนิดต่าง ๆ ทั้ง นก, สัตว์ปีก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก, สัตว์ฟันแทะ, สัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสูญพันธุ์ไปแล้วถึง 430 ชนิด เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณนักล่า บางทีล่าหรือฆ่าเพราะความอยากรู้อยากเห็นไม่ได้นำมากินหรือเป็นอาหาร